รับมือเมื่อลูกแพ้นมวัว | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

บทความเรื่องสุขภาพ

Health Article

รับมือเมื่อลูกแพ้นมวัว

Date : 13 July 2017

ข้อมูลจาก : Momypedia

โรคแพ้นมวัว คืออะไร
โรคที่ร่างกายเกิดปฏิกิริยาผิดปกติต่อสารโปรตีนในนมวัว ผู้ป่วยสามารถเกิดได้หลายอาการ เช่น ผิวหนัง ระบบทางเดินอาหาร หรือระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

โรคแพ้นมวัวมีอาการอย่างไร
จะแสดงอาการขึ้นผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง อุจจาระปนเลือด  มีบางรายที่เกิดความผิดปกติในระบบหายใจ หอบเหนื่อย เด็กที่แพ้นมวัว มักมีน้ำหนักตัวขึ้นช้า ซีดและอ่อนเพลีย

โรคแพ้นมวัว พบบ่อยแค่ไหน
โรคแพ้นมวัวเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาอาการแพ้อาหารของเด็กในวัยแรกเกิด ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของโรคแพ้นมวัวขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศ

ทำไมลูกน้อยจึงแพ้นมวัว
เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กเกิดความผิดปกติ มีปฏิกิริยาต่อโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในนมวัว อีกสาเหตุหนึ่งคือเกิดจากพันธุกรรม ถ้าพบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคแพ้นมวัวด้วย

การวินิจฉัยโรคอาการแพ้นมวัว
มีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัวโดยเฉพาะบิดามารดา อีกทั้งยังมีประวัติว่ามารดารับประทานนมวัวในช่วงตั้งครรภ์มากกว่าปกติ ในกรณีที่เด็กรับประทานนมมารดาอย่างเดียว จะได้ประวัติว่ามารดารับประทานนมวัวมากกว่าปกติในช่วงให้นมเด็ก

การรักษาอาการแพ้นมวัว
การรักษาที่ถูกต้องและดีที่สุดคือ การงดรับประทานนมวัว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัวทุกชนิด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี และค่อยๆ กลับมารับประทานใหม่ ไม่แนะนำให้ใช้นมถั่วเหลือง เนื่องจากว่าเด็กส่วนหนึ่งจะแพ้ทั้งนมวัว และนมถั่วเหลืองเพราะเด็กที่แพ้นมวัว ยังมีโอกาสแพ้นมถั่วเหลืองร่วมด้วย

โรคแพ้นมวัว เมื่อไหร่จะหาย

  • ร้อยละ 45-56 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 1 ปี
  • ร้อยละ 60-77 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 2 ปี
  • ร้อยละ 84-87 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 3 ปี
  • ร้อยละ 90-95 อาการจะหายไปเมื่ออายุ 5-10 ปี

การป้องกันโรคภูมิแพ้ในเด็กที่มีความเสี่ยง
รับประทานนมมารดาอย่างเดียว ในช่วง 6 เดือนแรก โดยมารดาไม่จำเป็นต้องงดรับประทานนมวัว หลีกเลี่ยงการให้

อาหารเสริมใดๆ ในช่วง 6 เดือนแรก
ไข่แดงในช่วง 2 ปีแรก
อาหารทะเลในช่วง 3 ปีแรก

Tip
มารดาไม่ควรรับประทานนมวัวมากเกินกว่าปกติในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะช่วงหลังของการตั้งครรภ์) หรือช่วงให้นมเด็ก ถ้าไม่สามารถให้นมมารดาได้ ให้นมสูตรสำหรับเด็กแพ้นมวัวทดแทน