โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

ความรู้เรื่องโรค

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012

Date : 12 June 2015
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ 2012 หรือกลุ่มอาการทางเดินหายใจตะวันออกกลาง
Middle East Respiratory Syndrome: MERS หรือโรคเมอร์ส
เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรน่า MERS Corona Virus :MERS CoV) 
 
โดยพบครั้งแรกในประเทศแถบตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย จอร์แดน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตต์ เป็นตัน 
โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่ออุบัติใหม่ เรามาทำความรู้จักกับโรคเพื่อป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ 2012 กันเถอะค่ะ 
 
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 คืออะไร ?
โรคติดต่อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ 2012 เป็นเชื้อสายพันธ์หนึ่งในกลุ่มไวรัสโคโรน่า ถูกค้นพบครั้งแรกในเดือนเมษายน 2555 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่ไม่เคย พบในคนมาก่อน 
อย่างไรก็ตาม โรคติดต่อไวรัสโคโรน่า สายพันธ์ 2012 อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับโรคซาร์สแตเป็นคนละสายพันธ์ุ
 
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า แพร่กระจายได้อย่างไร ?
ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าเชื้อไวรัสนี้ติดต่อและแพร่กระจายโรคได้อย่างไร องค์กรอนามัยโรคได้ให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังสถานการ์ณโรคติดเชื้อระบบทางเดิน หายใจรุนแรงเฉียบพลันอย่างใกล้ชิด รวมไปถึงตรวจสอบลักษณะที่ผิดปกติของผู้ป่วยปอดบวมอย่างระมัดระวังและองค์การอนามัยโรคจะเผยแพร่ข้อมูลให้ทราบ ต่อไป
                     
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า จะมีอาการอย่างไร ?
โดยทั่วไปจะมีอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน มีอาการไอ คล้ายไข้หวัดใหญ่ บางรายจะมีอาการรุนแรง เช่น 
หายใจหอบ หายใจลำบาก ปอดบวม ระบบหายใจล้มเหลว ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันการแพร่กระจายในระบบทางเดินหายใจ โดยการสวมหน้ากากเวลาไอ จาม และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีคนหาแน่น
ผู้ป่วยบางรายมีอาการในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องร่วง บางรายมีภาวะไตวาย ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวจะทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
 
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่ ?
มีการติดเชื้อจากคนสู่คนในกลุ่มผู้ป่วยด้วยกันหลายกลุ่มในวงจำกัด โดยพบในบุคลากรทางการแพทย์
ผู้ดูแลผู้ป่วย สมาชิกในครอบครัวเดียวกัน และระหว่างเพื่อน และขณะนี้ยังไม่มีการแพร่กระจายของเชื้อในวงกว้างชุมชน 
 
คำแนะนำประชาชนทั่วไป ?
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอหรือจาม 
  • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ก่อนรับประทานอาหาร และ หลังขับถ่าย 
  • ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก
    หากจำเป็นต้องเข้าไปควรพิจารณาใส่หน้ากากอนามัยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค 
  • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม 
  • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ 

ที่มาข้อมูล : สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่