การรักษาริดสีดวงทวารเบื้องต้น | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

Health Article

บทความเรื่องสุขภาพ

การรักษาริดสีดวงทวารเบื้องต้น

Date : 5 August 2016

ข้อมูลจาก : thainurseboard.com
ภาพจาก : pixabay.com

ริดสีดวงทวาร คือเป็นภาวะที่หลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไปในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัว เรียกว่า หัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดออกเป็นครั้งคราว อาจพบเป็นเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดดำที่อยู่ใต้ผิวหนังตรงปากทวารหนัก เรียกว่า ริดสีดวงภายนอก ซึ่งอาจมองเห็นจากภายน้อได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดที่อยู่ลึกเข้าไปเรียกว่า ริดสีดวงภายนอก ซึ่งอาจมองเห็นจากภายนอกได้ ถ้าเกิดจากหลอดเลือดที่อยู่ลึกเข้าไปเรียกว่า ริดสีดวงภายใน ซึ่งจะตรวจพบ เมื่อใช้กล้องส่องตรวจไส้ตรง 

ริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย และพบเป็นสาเหตุอันดับแรกๆ ของอาการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสด โดยทั่วไปจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงหรืออันตราย แต่อาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง น่ารำคาญ หรือทำให้วิตก โดยมากมกจะมีอาการเวลาท้องผูก หรือท้องเดินบ่อยๆ

การรักษา

1. ระวังอย่าให้ท้องผูกควรดื่มน้ำมากๆ และกินผักผลไม้มากๆ ถ้ายังท้องผูก ให้กินยาระบาย เช่น ยาระบายแมกนีเซีย ดีเกลือ อีแอลพี หรือสารเพิ่มกากใย อย่ายืนนานๆ หือนั่งเบ่งถ่ายนานๆ

2. ถ้าปวดมากเนื่องจากมีการอักเสบ ให้กินยาแก้ปวด นั่งแช่ในน้ำอุ่นจัดๆ วันละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที และใช้ยาเหน็บริดสีดวงทวาร เช่น อะนูซอล เซอริพร็อกต์ พร็อกโตซีดิล เหน็บวันละ 2-3 ครั้ง เช้า ก่อนนอน และหลังถ่ายอุจจาระ จนอาการบรรเทา ปกตใช้เวลาประมาณ 10 วัน

3. ถ้าซีดให้ เฟอร์รัสซัลเฟต วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 เม็ด

4. ถ้าหัวริดสีดวงหลุดออกมาข้างนอก ให้ใสถุงมือใช้ปลายนิ้วชุบสบู่ให้หล่อลื่น แล้วดันหัวกลับเข้าไป ถ้าไม่ด้ผล ควรแนะนำไปโรงพยาบาล

5. ถ้ามีเลือดออกนานกว่า 1 สัปดาห์ หรือเป็นๆ หายๆ บ่อย หรือสงสัยมีโรคอื่นร่วมด้วย หรือพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องใช้กล้องส่องตรวจไส้ตรง ถ้าหากสงสัยเป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่ อาจต้องเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งแบเรียม อาจต้องเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วยการสวนแป้งแบเรียม หรือใช้กล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่

ถ้าเป็นริดสีดวงทวาร โดยไม่มีสาเหตุที่ร้ายแรงก็มักจะให้การรักษาดังได้กล่าวข้างต้น

ถ้าเป็นมากอาจรักษาด้วยการฉีดยาเข้าที่หัวริดสีดวงให้ฝ่อไป วิธีนี้สะดวก ปลอดภัย ไม่มีความเจ็บปวด มักจะฉีดสัปดาห์ละครั้ง ประมาณ 3-5 ครั้ง ช่วยให้หายขาดได้รร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 40 อาจกำเริบได้ใหม่ หรืออาจรักษาโดยวิธีใช้ยางรัด ทำให้หัวริดสีดวงฝ่อ หรือใช้แสงเลเซอร์รักษา

กรณีเป็นมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

เหตุหมาย ควรได้รับการวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ