โรคหัวใจวาย | Pattaya City Hospital | โรงพยาบาลเมืองพัทยา เราพร้อมดูแลคุณ

ความรู้เรื่องโรค

โรคหัวใจวาย

Date : 19 September 2015
โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม สาเหตุการตายก็เปลี่ยนจากการติดเชื้อเป็นอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคเอดส์ ปัจจุบันการตายจากโรคหัวใจก็เพิ่มมากขึ้น บางคนก็เสียชีวิตเฉียบพลัน บางคนก็กลายเป็นโรคเรื้อรังและมีโรคแทรกซ้อน
 
โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็วบางรายอาจจะถึงแก่ชีวิต การเปลี่ยนแปลงของโรคไม่แน่นอน ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะทราบพยากรณ์ของโรค เมื่อเป็นโรคหัวใจนอกจากเกิดผลกระทบกับตัวผู้ป่วยแล้วยังกระทบกับครอบครัว เพื่อนและครอบครัวต้องช่วยกันดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ ทั้งเรื่องอาหาร การทำความสะอาด
 
หัวใจวายคืออะไร
 
หัวใจวาย หมายถึง ภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างพอเพียง หัวใจวายไม่เหมือนกับหัวใจหยุดเต้น เราเรียกหัวใจวายว่า congestive heart failure คือหัวใจทำงานล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจน เมื่อไตได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลงทำให้ไตสร้างสารบางชนิดออกมาทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวายก็จะมีการคั่งของน้ำและเกลือที่ปอดทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edma หากหัวใจห้องขวาวายจะเกิดการคั่งของน้ำที่ขาทำให้บวมที่เท้า
 
อาการหัวใจวายอาจจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เช่นเกิดภายหลังจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรืออาจจะค่อยๆเกิดเช่นโรคของลิ้นหัวใจ หรือกล้ามเนื้อหัวใจ
 
ชนิดของหัวใจวาย
 
เราทราบกันแล้วว่าหัวใจคนเรามี สี่ห้องคือมีหัวใจ การแบ่งหัวใจวายจะแบ่งเป็นหัวใจวายห้องขวา ซึ่งประกอบด้วยห้องบนขวา ( right atrium) และหัวใจห้องล่างขวา (right ventricle)  และหัวใจวายห้องซ้ายซึ่งประกอบด้วยหัวใจห้องบนซ้าย( left atrium) และหัวใจห้องล่างซ้าย (left ventricle)
  • หัวใจห้องซ้ายล้มเหลวleft-sided heart failure
  • หัวใจห้องซ้ายจะรับเลือดที่ฟอกแล้วจากปอดและจะสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย หัวใจข้างนี้จะแข็งแรงกว่าหัวใจห้องอื่น หากหัวใจข้างนี้วายร่างกายจะไม่สามารถสูบฉีดเลือดทำให้เลือดคั่งในปอดเกิดภาวะที่เรียกว่าน้ำท่วมปอด Pulmonary edema นอกจากนั้นยังทำให้เกิดอาการบวมที่เท้า
  • หัวใจห้องขวาล้มเหลว
  • หัวใจห้องขวาจะรับเลือดจากร่างกายแล้วสูบเลือดไปปอด หากหัวใจห้องขวาล้มเหลวจะทำให้เกิดอาการบวมของเท้า
 
สาเหตุของหัวใจวาย
 
เมื่ออายุมากขึ้นการบีบตัวตัวของหัวใจก็จะลดลง หากมีภาวะที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถในการบีบตัวของหัวใจก็จะเกิดโรคหัวใจวาย นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเช่น การสูบบุหรี่ อ้วน การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงการขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ หัวใจวายมีด้วยการหลายสาเหตุ บางครั้งอาจจะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดสาเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่
 
  • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ (coronary heart disease) ผู้ป่วยมักจะมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน เมื่อเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ กล้ามเนื้อหัวใจก็ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายอย่างเพียงพอ สำหรับผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน หากบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้างก็อาจจะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน
  • กล้ามเนื้อหัวใจเอง ได้แก่โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ การติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเกิดล้มเหลว (cardiomyopathy) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง
  • ความดันโลหิตสูง (Hypertension)เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัวต้องทำงานมากขึ้น และเกิดล้มเหลวได้
  • ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก rheumatic heart disease ทำให้ลิ้นหัวใจตีบ หรือมีการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
  • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
  • โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพองก็สามารถทำให้หัวใจห้องขวาวาย
  • โรคเบาหวาน สาเหตุที่โรคเบาหวานมักจะมีโรคหัวใจ คือผู้ป่วยมักจะอ้วน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ หรือเต้นช้าเกินไป (bradyarrhythmia) หรือเต้นเร็วเกินไป (tachyarrhythmia) ทำให้หัวใจไม่สามารถป้ำเลือดได้อย่างเพียงพอ
  • สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด ซึ่งจะทำลายกล้ามเนื้อหัวใจเป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีโลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย
  • ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
 
การปรับตัวของหัวใจเมื่อเป็นโรคหัวใจวาย
 
โรคหัวใจวายเป็นโรคเรื้อรังและมีการดำเนินของโรคอยู่ตลอดเวลา หากเป็นใหม่มักจะไม่มีอาการหรือมีอาการแต่ไม่มาก เนื่องจากหัวใจมีการปรับตัวดังนี้
  • หัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือที่เรียกว่าหัวใจโต Cardiomegaly การที่หัวใจมีขนาดโตขึ้นเพื่อรองรับกับความต้องการเลือดของร่างกาย แต่เมื่อโตถึงระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อหัวใจถึงยืดทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น Hypertrophy เพื่อเพิ่มแรงบีบให้กับหัวใจ
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น